การศึกษา

การศึกษา ในศตวรรษที่ 21 กับโลกที่มีการพัฒนามากขึ้น

การศึกษา ในศตวรรษที่ 21 ทำให้เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 มีความแตกต่างจากในอดีตมาก โลกมีการพัฒนามากขึ้น ทั้งในด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร สังคม การปกครอง เพราะฉะนั้นการศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมาก ๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ทักษะ ความรู้ นำมาแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและนำความรู้ที่ได้มาต่อยอด เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้ในอนาคต ดังนั้นการศึกษาจึงจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับปัจจุบันมากที่สุด

การศึกษา ในศตวรรษที่ 21 ลักษณะของผู้เรียนนอกจากจะเป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐานแล้วยังต้องมีทักษะทางด้านการคิดและการสื่อสารรวมถึงทักษะการจัดการสารสนเทศและความสามารถในการเรียนรู้ต่าง ๆ ผ่านเทคโนโลยี ดังนั้นเพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการใช้ชีวิตจึงจำเป็นต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนโดยไม่ใช่แค่เป็นการปฏิรูปเพียวครั้งคราว แต่เป็นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเรื่อย ๆ เพื่อตอบนองความต้องการของเยาวชน สังคมทั้งในปัจจุบันและอนาคต ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีการใช้ชีวิตที่แตกต่างจากผู้เรียนในยุคต่าง ๆ ที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันอย่างไม่รู้ตัว โดยส่วนใหญ่ก็จะเรียนรู้ผ่านทางออนไลน์มากกว่าเรียนรู้ในห้อง โดยจะมีสิ่งที่แตกต่างจากเด็กในยุคสมัยก่อนอย่างมาก เช่น ความรับผิดชอบ การมีวินัยในการเรียน เพราะในปัจจุบันค่อนข้างให้อิสระต่อผู้เรียนมากขึ้นโดยไม่ต้องมีใครมาบังคับ , ทักษะด้านการคิด คือการได้รับการฝึกฝนทักศะอย่างมีระบบ ทำให้สามารถคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ , ทักษะในการทำงานกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ คือการที่ผู้เรียนมีความสามารถในการประสานงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี มีการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี เช่นการมอบหมายงาน การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ , ทักษะการค้นหา คือการที่ผู้เรียนสนใจศึกษาค้นคว้าสิ่งต่าง ๆ เพื่อหาความรู้ใหม่ ๆ , ความกระตือรือร้น คือการสนใจที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มีความตื่นตัวและทักษะทางด้านภาษา ทุกวันนี้ภาษาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ไว้ใช้ตอบโต้สื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้กันได้

การพัฒนาทักษะความรู้ในศตวรรษที่ 21 จำเป็นที่จะต้องจัดการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย ให้จบมาเป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีจริยธรรมในการดำรงชีวิต บ่มเพาะความคิด การเรียนรู้ที่ปลูกฝังให้มีจืตสาธารณะ เป็นคนที่พึ่งพาตัวเองได้และดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข มีความสมดุลในชีวิตคือมีทั้งความรู้และศีลธรรม

การปฏิรูปหลักสูตร การศึกษา และวิธีการสอนเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะหลักสูตรการศึกษาถือเป็นการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้และผลลัพธ์ที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับนักเรียนในประเทศ ดังนั้นการปฏิรูปหลักสูตรจึงควรจะนำไปสู่การปลูกฝังความรู้ ทัศนคติและค่านิยมต่าง ๆ ที่เยาวชนควรจะต้องมี เพื่อให้พวกเขานำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ สำหรับการเรียนการสอน ควรนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ ออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนทั้งในห้องและออนไลน์ การใช้การแบบออนไลน์ส่งผลให้เกิดความสะดวกสบายต่อผู้เรียน เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม , ควรเน้นการลงมือทำปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมากกว่าที่จะต้องไปจดจำเนื้อหาในห้อง เป็นการเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนร่วมกันระหว่างเพื่อนกับครูในชั้น เป็นการเรียนรู้ที่รวดเร็ว หากสงสัยตรงไหนก็สามารถถามได้เลย

ในโลกปัจจุบันทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันตั้งตัว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก ความรู้จึงมีความสำคัญมากในปัจจุบัน เพราะในโลกทุกวันนี้สังคมเปิดรับ เปิดกว้างมากขึ้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงเป็นการเรียนรู้ที่ไม่ใช่มีแค่ความรู้ แต่เป็นการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั่นเอง

การศึกษา

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 จะแบ่งออกเป็น 3 แกนหลัก ๆ คือ

1. แกนความรู้พื้นฐานทั่วไป (Foundational Literacies) เป็นทักษะที่เน้นเรื่องการปฏิสัมพันธ์ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจำแนกออกมาเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้

– ด้านการอ่าน และเขียน (Literacy) : การอ่านนิทาน หรือหนังสือเรียนทั่วไปและการฝึกเขียนชื่อหรือพยัญชนะต่าง ๆ

– ด้านการคำนวณ (Numeracy) : เรียกง่าย ๆ คณิตศาสตร์ การบวก ลบ คูณ หาร

– ด้านการเงิน (Financial Literacy) : การรู้จักใช้จ่าย ประหยัด ออม

– ด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) : การสังเกต การเรียนรู้จักการแก้ปัญหา

– ด้านเทคโนโลยี (ICT Literacy) : การเข้าถึงเครื่องมือสารสนเทศ การสื่อสารต่าง ๆ รู้เท่าทันสื่อในปัจจุบัน

– ด้านสังคมและวัฒนธรรม (Cultural & Civic Literacy) : สนับสนุนให้เด็กเรียนรู้ทำกิจกรรมที่สะท้อนวัฒนธรรมต่าง ๆ

2. แกนความสามารถและทักษะที่เด็กควรจะมี (Competencies) ทักษะที่จะช่วยจัดการกับปัญหาหรือสิ่งที่เข้ามาท้าทายในชีวิต เพราะต้องเจอความซับซ้อนมากเท่าไหร่ก็ต้องใช้ทักษะเหล่านี้ในการจัดการแก้ไขปัญหา กลุ่มทักษะนี้จะเรียกย่อๆ ว่า “4C”

– การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) : ความสามารถในการหาทางแก้ไขปัญหา คิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบรู้จักแยกแยะสิ่งไหนเป็นเรื่องจริง

– การคิดสร้างสรรค์ (Creativity) : ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมสิ่งใหม่ ๆ และคิดนอกกรอบ

– การสื่อสาร (Communication) : การฟังและการพูดรวมถึงการอ่านและการเขียน เพราะการสื่อสารที่ดี คือการรู้จักสังเกตและให้ความสำคัญกับบุคคลอื่น

– ความร่วมมือ (Collaboration) : การรู้จักเข้าสังคมกลุ่มและสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้สำเร็จ

3. แกนคุณสมบัติและเอกลักษณ์ที่เด็กควรมี (Character Qualities) ลักษณะนิสัย หรือทักษะที่ต้องใช้ เมื่อต้องอยู่ร่วมกันกับสังคมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

– ความอยากรู้ (Curiosity) : รู้จักคิด และมีวิจารณญาณ

– ความตระหนักรู้ (Awareness) : ความรับรู้เข้าใจอารมณ์ของตัวเอง รู้จุดเด่น จุดด้อย ตัวเอง ยอมรับความภูมิใจของตนเองและผู้อื่น

– ความคิดริเริ่ม (Initiative) : ความสามารถในการรับผิดชอบในการทำงานไปสู่เป้าหมาย

– สังคมและวัฒนธรรม (Social & Cultural Awareness): รู้จักเข้าสังคม การมีส่วนร่วม รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่าง

– ความอดทน (Persistence/Grit) : ความมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

– ความเป็นผู้นำ (Leadership) : การเรียนรู้การทำงานเป็นทีมหรือเรียกง่าย ๆ คือทำงานกลุ่มให้ความร่วมมือ และสามารถแสดงออกถึงการเป็นผู้นำได้ในบางโอกาส

– คิดยืดหยุ่น (Adaptability) : ความสามารถในการคิดหลายสิ่งหลายอย่างในเวลาเดียวกันรู้จักการปรับเปลี่ยนความคิดตามการเปลี่ยนแปลงในความคาดหวังและความต้องการ

แหล่งข้อมูลอิง

https://www.youngciety.com/article/journal/21st-century-skills-steam-and-ef.html

https://www.learn.co.th/articles/

บทความข่าวสารอื่นที่น่าสนใจ

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ markthompsonartist.com

แทงบอล

Releated